super fake watches

ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย

/ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย 2017-11-04T19:17:14+07:00

ประวัติ ดร.สุข พุคยาภรณ์
ดร.สุข พุคยาภรณ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 12 ดร.สุข พุคยาภรณ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2459 ที่บ้านริมน้ำ ตำบล คลองสิบอำเภอ หนองจอก จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรคนที่ 5 ของ นายพุก และนางหรั่ง พุคยาภรณ์ เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาเบื้องต้นที่วัดแสนเกษม จบ ป.4 เมื่อ พ.ศ. 2470 แล้วบวชเป็นสามเณรอยู่ 30 วัน หลังจากลาสิกขาแล้วกลับไปช่วยบิดามารดาทำการค้า พ.ศ. 2475 แยกตัวออกไปทำการค้าด้วยตนเอง เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มจากพายเรือขายของ ซื้อ-ขายของชำ ซื้อ-ขายข้าวเปลือก จนกระทั่ง ซื้อโรงสีดำเนินกิจการเองใน พ.ศ. 2490 ใช้เวลาตั้งตัวในระยะต้นนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – 2490 รวม 15 ปีเศษ

  • ดร. สุข พุคยาภรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ
    – สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพฯ
    – ประธานศูนย์เยาวชนบางเขน
    – ประธานจัดงานวันพ่อแห่งชาติ
    – กรรมการและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
    – นายกสมาคมโรงสี- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย- ที่ปรึกษาสโมสรลูกเสือวิสามัญ แห่งประเทศไทย- นายกสมาคมผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหาร แห่งประเทศไทย- ประธานกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีไทยสุริยะ.
    ตำแหน่งของท่านที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม คือ เป็นนายกสภา มหาวิทยาลัยและผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราอื่นๆ ที่ได้รับ คือ
    – ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย (ท.ม.)
    – ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
    – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้น 1
    – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
  • ดร. สุข พุคยาภรณ์ คือ ผู้ที่เพียรพยายามที่จะสอนสั่งและอบรมบ่มเพาะให้ผู้เกี่ยวข้องกับท่านทำงาน ด้วยหลักการ “ริเริ่ม รอบรู้ รวดเร็ว และเรียบร้อย”
    คำกล่าว ของท่าน ดร. สุข พุคยาภรณ์
    “ผมลงทุนธุรกิจ ลงทุนน้อยกว่าการสร้างสถานศึกษา ผลตอบแทนรวดเร็วกว่าการศึกษาแต่ผมรักที่จะทำการศึกษามากกว่า คงเป็นเพราะผมมีโอกาสเรียนน้อยประเทศชาติจะพัฒนาไม่ได้คนในประเทศต้องมีการศึกษาอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ถ้าลองเอาที่ดินที่เป็นสถานศึกษาทุกแห่งของผมไปพัฒนาเป็นธุรกิจการค้ามูลค่าคงมากมหาศาลเพราะทุกแห่งติดถนนใหญ่และในปัจจุบันอยู่ในเขตชุมชนที่เจริญแล้วแต่ผมภูมิใจที่จะนำมาเป็นสถานศึกษามากกว่า ถึงแม้ว่าจะเทียบกับผลตอบแทนทางการค้าไม่ได้เลยแต่ผมได้ผลตอบแทนทางใจ แต่ละปีมีเด็กสำเร็จการศึกษาออกไป ผมภูมิใจมากที่ได้มีส่วนสร้างทรัพยากรบุคคลแก่ประเทศชาติ ความภูมิใจตรงนี้มีค่ามากกว่าผลตอบแทนทางการเงินหลายพันเท่า เพราะเป็นสิ่งที่ผมได้พัฒนาบ้านเมืองและตอบแทนแก่สังคมส่วนรวม”