preloader
  • Home
  • เกี่ยวกับวารสาร

นโยบายและขอบเขต

วารสารนิเทศศาสตร์วิชาการเป็นวารสารราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ได้แก่ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม นำเสนอบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) บทความปริทรรศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในสาขานิเทศศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการสื่อสาร การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การสื่อสารการตลาด การสื่อสารวัฒนธรรม การสื่อสารสุขภาพ การสื่อสารกีฬา การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว การสื่อสารการเมือง การสื่อสารการแสดง การสื่อสารองค์กร การสื่อสารศาสนา การสื่อสารมวลชน การจัดการการสื่อสาร ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง ซีรีส์ วาทวิทยา สื่อดิจิทัล ตามการพิจารณาของกองบรรณาธิการ

บทความที่เผยแพร่ทุกบทความต้องเขียนตามรูปแบบของวารสารนิเทศศาสตร์วิชาการ โดยผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากผู้ประเมินบทความ (Peer Reviewer) ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ซึ่งทั้งผู้ประเมินบทความและผู้แต่งจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Reviewer) โดยบทความที่เสนอต้องเป็นบทความที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น หากเกิดการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับเนื้อหาและข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งและผู้แต่งร่วมแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร


วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทรรศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ ในสาขาวิชา นิเทศศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการสื่อสาร การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร การตลาด การสื่อสารวัฒนธรรม การสื่อสารสุขภาพ การสื่อสารกีฬา การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว การสื่อสาร การเมือง การสื่อสารการแสดง การสื่อสารองค์กร การสื่อสารศาสนา การสื่อสารมวลชน การจัดการการสื่อสาร ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง ซีรีส์ วาทวิทยา สื่อดิจิทัล ตามการพิจารณาของกองบรรณาธิการ
2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร สาระสำคัญ ประสบการณ์แก่นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางด้านวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา


กระบวนการประเมินบทความ

ต้นฉบับจะผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ในรูปแบบ double-blind Peer Review (ผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ) ทั้งนี้ กองบรรณาธิการอาจขอให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาการแก้ไขภายหลังการประเมินโดยกองบรรณาธิการ ในกรณีที่บทความไม่ผ่านการประเมินและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ วารสารขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับตีพิมพ์บทความ


กำหนดออกเผยแพร่

ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน
ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม


จริยธรรมของวารสาร

จริยธรรมของผู้ประเมิน
1. ไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความในระหว่างที่บทความยังไม่ได้เผยแพร่
2. การประเมินต้องมีความเป็นกลาง
3. ไม่เสนอแนะให้ผู้นิพนธ์อ้างอิงผลงานใดด้วยเจตนาเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง
4. ส่งผลการประเมินตามกำหนดเวลา
5. หากพบว่าผู้นิพนธ์บทความกระทำผิดจรรยาบรรณ เช่น ลอกเลียนผลงานวิชาการ บิดเบือนผลการวิจัย หรือใช้ผลการวิจัยเท็จ ต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบ

จริยธรรมของผู้แต่ง
1. ผลงานต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น
2. บทความไม่มีส่วนใดที่เป็นการลอกเลียนผลงานวิชาการ (plagiarism) ทั้งของตนเองและผู้อื่น และมีการอ้างอิงผลงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน
3. ไม่สร้างข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนข้อมูลในการรายงานผลการวิจัย
4. ปฏิบัติตามจริยธรรมในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นผู้แต่ง (authorship) อย่างเคร่งครัด กล่าวคือชื่อผู้แต่งทุกชื่อที่ปรากฏในบทความจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการทำวิจัยและไม่ละเลยหรือตัดชื่อบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการทำวิจัยคนใดออกจากบทความ
5. หากมีผู้แต่งหลายคน ผู้แต่งทุกคนจะต้องเห็นชอบกับต้นฉบับบทความและเห็นชอบกับการส่งต้นฉบับบทความนั้นให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์

จริยธรรมของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการต้องทำหน้าที่อย่างเอาใจใส่ ติดตาม และตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของข้อมูลที่เผยแพร่ ปรับปรุงเนื้อหาของเว็บไซต์วารสารให้เป็นปัจจุบัน
2. บรรณาธิการทำหน้าที่อย่างมีใจเป็นกลาง เปิดโอกาส
3. บรรณาธิการดำเนินการตามขั้นตอนจัดทำวารสารอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ
4. บรรณาธิการปกปิดชื่อและสังกัดของผู้แต่ง รวมถึงปกปิดชื่่อและสังกัดของผู้ประเมิน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการประเมินคุณภาพบทความในลักษณะ Double-blind peer review
5. บรรณาธิการรักษามาตรฐานและคุณภาพของบทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองบทความในเบื้องต้น ก่อนส่งต่อไปยังผู้ประเมิน